Monday 04 October

Thaipface เป็นหนังสือภาพสเก็ตช์เสมือนจริงที่สร้างสรรค์โดยครีเอทีฟชาวไทย 7 ท่านผู้ที่สำรวจความสัมพันธ์ของพวกเขาที่มีต่อแผ่นดินแม่ในขณะที่สรรเสริญพยัญชนะไทยที่เคลื่อนไหว จากการทำให้ภาษาประจำวันมีการเคลื่อนไหวไปจนถึงการสร้างจินตภาพใหม่ให้กับรูปแบบตัวอักษรดั้งเดิม พวกเขาจุดประกายหัวข้อเกี่ยวกับการตัดสินทางสังคมและปัญหาในสังคมร่วมสมัยในวัฒนธรรมปัจจุบัน มันเป็นพื้นที่ให้พวกเขาได้เล่นสนุกกับการทดลองกับการพิมพ์และผลักดันไหวพริบทางการออกแบบให้ออกไปจากงานปกติของลูกค้า

____

Thaipface is a virtual sketchbook by seven Thai creatives that explore their relationship with the motherland while celebrating Thai type (พยัญชนะไทย) in motion. From animating local vernaculars to reimagining traditional letterforms, they visually spark dialogue about social justice and contemporary issues in today’s cultural climate. It’s their perfect playground for experimenting with typography and pushing their design sensibility outside of the classic client works.

04 - 05 October

Thaipface
2021

ธงชาติไทยประกอบไปด้วยแถบ 5 แถบที่มีสีแดง ขาว และน้ำเงิน สีแดงแสดงถึงการที่เรารักษาความเป็นอิสรภาพของเราไว้ ซึ่งก็คือชาติ สีขาวแสดงถึงความบริสุทธิ์ละพุทธศาสนา ซึ่งก็คือวินัยทางจริยธรรมของเรา ส่วนสีน้ำเงินแสดงถึงพระมหากษัตริย์ ซึ่งก็คือหัวใจของเรา แม้ว่าความหมายเหล่านี้จะถูกสอนให้แก่เราในโรงเรียน แต่เราจะเข้าใจความหมายเหล่านี้อย่างแท้จริงผ่านประสบการณ์และการสัมผัสถึงบริบท

เราอยู่ในยุคที่ความรู้แทบจะไม่ถูกปิดกั้นผ่านอินเทอร์เน็ต ความหมายโดยนัยของคำไม่ถูกจำกัดและไม่ผูกโยงกับวัฒนธรรมที่ถูกบัญญัติไว้และค่านิยมของรุ่นในแบบๆหนึ่งอีกต่อไป ในปัจจุบันเราเข้าถึงความคิด สัญลักษณ์ และตัวตนอย่างเปิดกว้าง

ธงของเราอาจจะแสดงถึงชาติ-ศาสนา-พระมหากษัตริย์ แต่ในโลกที่เปิดกว้างทุกวันนี้ ความหมายโดยนัยของมันมีการถามตอบ มีภาวะเคลื่อนไหว และไร้ศูนย์กลาง ในขณะที่คุณเติบโตขึ้น คุณถูกบอกอะไรเกี่ยวกับชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์? คุณเลือกที่จะเชื่อสิ่งใด?

พวกเราขอเชิญคุณมาสำรวจความสัมพันธ์ของคุณกับสามเสาหลักของชาติด้วยความเหนือขอบเขตในผลงาน “Where I’m Coming From”

ข้อความสำหรับชาติ:

ชาติ หมายถึง “ประเทศๆหนึ่ง โดยเฉพาะเมื่อมองมุมที่มันเป็นกลุ่มคนกลุ่มใหญ่ที่อยู่ร่วมกันในบริเวณๆหนึ่งและมีรัฐบาล ภาษา ประเพณี และอื่นๆเป็นของตนเอง” (พจนานุกรม Cambridge)

ในโลกที่เชื่อมต่อกันเป็นโยงใย ความคิด สัญลักษณ์ และตัวตนได้ก้าวผ่านขอบเขต ชาติจะยังคงความหมายและอำนาจเดิมเหมือนที่มันเคยมีหรือไม่? มันจำเป็นที่จะต้องเป็นแบบนั้นหรือไม่? ทุกคนต้องเป็นพวกชาตินิยมหรือไม่? เรากำลังพยายามต่อสู้กับใครและอะไรเพื่อความมั่นคงของชาติ?

ข้อความสำหรับศาสนา:

ศาสนา หมายถึง “ความเชื่อและการบูชาพระเจ้าองค์หนึ่ง หรือหลายองค์ หรือระบบความเชื่อและการบูชานั้นๆ” (พจนานุกรม Cambridge)

เราอยู่ในยุคที่ความรู้แทบจะไม่ถูกปิดกั้น ความจริงและเหตุผลมักจะถูกเปรียบเทียบกับอำนาจอันอยู่เหนือศรัทธา ในโลกปัจจุบัน บทบาทของศาสนาคืออะไร? มันคือสิ่งเดียวกับความเชื่อเรื่องจิตและวิญญาณหรือไม่? ศาสนาสามารถและสมควรพัฒนาและถูกทำให้มีความเป็นสมัยใหม่หรือไม่? หรือมันสมควรจะเป็นแบบเดิมต่อไป?

ข้อความสำหรับพระมหากษัตริย์:

พระมหากษัตริย์ หมายถึง “(นามของ)ผู้ปกครองประเทศ ผู้ที่ครองตำแหน่งเนื่องจากเกิดในราชวงศ์” (พจนานุกรม Cambridge)

ในสภาวะการเมืองในเมืองไทยเช่นนี้ มันมีความโหยหาความโปร่งใสและความเท่าเทียม ด้วยความเหลื่อมล้ำระหว่างผู้คน ราชวงศ์เป็นเครื่องพิสูจน์หรือไม่ว่าสิทธิพิเศษอย่างสุดโต่งมีอยู่? บทบาทของเหล่าพระองค์คืออะไร? ใครมอบอำนาจนี้ให้เหล่าพระองค์? ด้วยทุกสิ่งทุกอย่างที่เหล่าพระองค์ทรงกระทำ เหล่าพระองค์ควรทรงได้รับอำนาจนี้หรือไม่? ใครเป็นคนตัดสินใจ?

———

Thailand’s national flag comprises five horizontal stripes in red, white, and blue. The red stripes symbolize our bid to maintain independence; the nation. The white stands for purity and Buddhism; our moral code. Blue is for HM

the King; our heart. Though these definitions were taught to us in school, the true comprehension of the meanings only comes when experienced and in context.

We are in the age where knowledge has very little gateway on the internet. Connotations of words are no longer limited and bound to prescribed culture and generational values of one specific place. We now have open access to ideas, symbols, and identities.

Our flag may stand for nation-religion-king in definition, but in today’s open world, their connotations are forever interactive, dynamic and decentralized in meanings. Growing up, what have you been told about your nation, religion and king? What have you chosen to believe in? 

We would like to invite you to come explore your relationship with these three Thai national pillars beyond the boundaries of our border in this commissioned piece for “Where I’m Coming From.” 

ชาติ means nation 

“A country, especially when thought of as a large group of people living in one area with their own government, language, traditions, etc.” (Cambridge Dictionary). In this forever connected world of the web, ideas, symbols, and identity transcend borders. Will ชาติ still hold the same meaning and power as it once had? Does it need to? Should everyone be a nationalist? Who and what are we trying to fight against for national security? 

ศาสนา means religion 

“The belief in and worship of a god or gods, or any such system of belief and worship.” (Cambridge Dictionary) 

We are in the age where knowledge has very little gateways, facts and logics are often equated to power over faith. In today’s world, what is the role of religion? Is it the same as spirituality? Can and should religion evolve and be modernized? Or should it continue to hold up its current structure? 

พระมหากษัตริย์ means king

“(the title of) a male ruler of a country, who holds this position because of his royal birth” (Cambridge Dictionary) 

In the current political climate in Thailand, there’s a genuine craving for transparency and equality. With the widening disparity gap between the people, is the royal family proof that extreme privilege exists? What should be their role in our country? Who granted them these powers? With everything that they have done, do they deserve this sovereignty? Again, who gets to decide?

Kullathida Krajangkul Bio

Wednesday 05 & Thursday 06 August

กุลธิดา กระจ่างกุล เกิดเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2543 ในจังหวัดขอนแก่น เธอมีความสนใจในสิทธิมนุษยชน ความเท่าเทียม เพศ และสิ่งแวดล้อม กุลธิดามักจะนำเสนอผลงานศิลปะของเธอผ่านการแสดงสดเช่นผลงาน “แตก” (2563) ใน Khonkaen Manifesto 2020 ที่แสดงให้เห็นถึงการค้าประเวณีในจังหวัดขอนแก่นอันเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาเมืองที่ถูกลืม และ “Blue on Period” (2564) ที่เป็นการแสดงสดออนไลน์ความยาว 24 ชั่วโมงโดยใช้ผ้าอนามัย 1 ชิ้นใน 1 วัน เธอเลือกที่จะใช้ร่างกายตนเองในการนำเสนอการต่อสู้ดิ้นรนของผู้หญิงในขณะที่ต่อต้านสังคมแห่งบรุษเพศและเผด็จการ รวมไปถึงประเด็นปัญหาอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับระบบสังคมที่บรุษเพศเป็นใหญ่ กุลธิดายังเป็นนักเคลื่อนไหว โดยต่อสู้ร่วมกับกลุ่มประชาธิปไตยเช่นกลุ่มขอนแก่นพอกันที กลุ่มราษฎรขอนแก่น กลุ่มราษฎร โขง ชี มูล (สามัญชน) และกลุ่มอื่นๆ ล่าสุดเธอถูกออกหมายเรียกข้อหาใช้สีสเปรย์ฉีดพ่นโล่ของเจ้าหน้าที่ตํารวจและคำปราศรัยเกี่ยวกับหมู่บ้านบางกลอย

___

Kullathida Krajangkul was born on August 3, 2000 in Khon Kaen Province. She is interested in Human Rights, Equality, Gender and Environment. She often presents her artistic practice through live performances such as Teak (2020) in Khonkaen Manifesto 2020 which depicts the prostitution in Khon Kaen as part of the urban development that has been forgotten; and Sanitary Napkins (2021), a 24-hour live performance (Online) using 1 piece of sanitary napkin in 1 day. She chooses to use her own body to present women’s struggle whilst resisting masculine society and dictatorship, among other issues associated with the patriarchy. Kultida is also an activist, joining the fight with democracy movements such as Khon Kaen Por Kan Tee, Ratsadon Khon Kaen, Ratsadon Khong Chee Mun (Plebs), etc. She’s been recently issued a police warrant on allegations of spraying a police officer’s shield and a speech about Bang Kloi village. 

06 - 07 October

English Audio description available here

กุลธิดา กระจ่างกุล จาก Plebeian Artistic Activist Project (PAPP)

แวดวงศิลปะในประเทศไทยถูกจำกัดเกี่ยวกับการนำเสนอและการแสดงออกตั้งแต่เหตุการณ์รัฐประหารในปี 2549 และ 2557 นับแต่นั้นมา สังคมศิลปะในไทยก็ถูกแบ่งเป็นสองกลุ่ม คือกลุ่มสนับสนุนประชาธิปไตยและกลุ่มต่อต้านประชาธิปไตย ในฐานะที่เป็นนักเคลื่อนไหวทางศิลปะและผู้ปฏิบัติงานทางวัฒนธรรม พวกเราจึงสำรวจความเป็นไปได้ของการจัดกิจกรรมทางศิลปะที่ดำเนินการโดยผู้ที่เรียกร้องประชาธิปไตยและต่อต้านผู้นำเผด็จการ โดย PAPP ร่วมมือกับโครงการ Art Manifesto ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ดำเนินการโดยถนอม ชาภักดี ผู้อำนวยการฝ่ายศิลป์แห่ง Khonkaen Manifesto ซึ่งเป็นเทศกาลศิลปะทางเลือกในจังหวัดขอนแก่นที่นำเสนอสุนทรียศาสตร์และคุณค่าแห่งการต่อต้านผ่านวิธีการทางศิลปะและวัฒนธรรมของชุมชนชายขอบ

การต่อต้าน: ร่างกายแห่งการถูกกดขี่ (Act of Resistance: The Body of Depressed)
กุลธิดา กระจ่างกุล
สังคมไทยนั้นเต็มไปด้วยสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงสิทธิพื้นฐาน ความเท่าเทียม และเพศสภาพในดินแดนแห่งนักประชาธิปไตยจอมปลอมและสังคมที่มีพุทธศาสนาเป็นศูนย์กลาง เป็นที่ๆสตรีเพศต้องเดินตามบุรุษเพศ ในผลงานครั้งนี้ ศิลปินต้องการแสดงออกถึงการเคลื่อนไหวทางสังคมในเชิงศิลปะของเธอโดยการใช้ร่างกายของตนเองเป็นเครื่องมือในการแสดงถึงการต่อสู้ดิ้นรนของผู้ที่ถูกกดขี่และทุกข์ทรมานในสังคมแห่งบุรุษเพศ

Blue on Period – สื่อแสดงสด (ออนไลน์): ได้รับแรงบันดาลใจจากข่าวภาษีผ้าอนามัยที่จัดให้อยู่ในประเภทเดียวกับเครื่องสำอาง

แตก (Khonkaen Manifesto 2020): งานศิลปะเฉพาะที่ ที่เล่าเรื่องราวที่ซ่อนเร้นของจังหวัดขอนแก่น ซึ่งเป็นจังหวัดตัวอย่างพัฒนาจังหวัดแรกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กุลธิดาเล่าเรื่องราวของการค้าประเวณีและใช้วัสดุจากซ่องร้างในจังหวัดขอนแก่น
ความคับข้องใจของศิลปินคนหนึ่งที่วัยเยาว์ถูกแย่งชิงไปโดยรัฐทรราช ไร้คุณภาพ และไร้ความชอบธรรม วิดีโอนี้เป็นศิลปะสื่อแสดงสดที่ถ่ายทำที่สถานที่ต่างๆในช่วงการประท้วงในเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2564

———

Kullathida Krajangkul from Plebeian Artistic Activist Project (PAPP)

The Thai art scene has had some limitations with regards to representation and expression since the two coup d’etat, in 2006 and 2014. Since then, the Thai art community has been divided into two camps: pro-democracy and anti-democracy wings. As artist-activists and cultural workers, we explore the possibility of artistic activities that include groups of people calling for democracy and actively oppose dictatorial leadership. PAPP is associated with the project Art Manifesto in Northeast of Thailand organised by Thanom Chapakdee, artistic director of Khonkaen Manifesto. It is an alternative art festival in the city of Khonkaen, Northeast of Thailand, which carries the values and aesthetics of resistance through artistic and cultural approaches of a marginalised community.

Act of Resistance: The Body of Depressed
Kultida Krachangkul

Thai society is littered with content that show the fundamental right, equality and sexuality in the land of pseudo democrats and Buddha Centrism, where women have to follow the steps of men. In this work showcase, the artist wants to express her artistic activist performance by using her body as a tool to express the struggles of the agonized and oppressed in a patriarchal society.

Blue on Period – Performance (Online): After the news of the announcement of the tax on sanitary napkins by categorizing the same category as cosmetics.

Teak (Khonkaen Manifesto 2020): Site-Specific work to tell the story underneath Khonkaen city, the first development model province in the northeast of Thailand. Kultida used the story of prostitution and used materials from an abandoned brothel in Khonkaen.

The grievances of an artist who is snatched away from youth by a tyrannical, ineffective state, lacking decency. This video is live performance art at various locations during the month of protests for democracy on July-August 2021.

Friday 08 & Saturday 09 October

Plebeian Artistic Activist Project (PAPP) 

แวดวงศิลปะในประเทศไทยถูกจำกัดเกี่ยวกับการนำเสนอและการแสดงออกตั้งแต่เหตุการณ์รัฐประหารในปี 2549 และ 2557 นับแต่นั้นมา สังคมศิลปะในไทยก็ถูกแบ่งเป็นสองกลุ่ม คือกลุ่มสนับสนุนประชาธิปไตยและกลุ่มต่อต้านประชาธิปไตย ในฐานะที่เป็นนักเคลื่อนไหวทางศิลปะและผู้ปฏิบัติงานทางวัฒนธรรม พวกเราจึงสำรวจความเป็นไปได้ของการจัดกิจกรรมทางศิลปะที่ดำเนินการโดยผู้ที่เรียกร้องประชาธิปไตยและต่อต้านผู้นำเผด็จการ โดย PAPP ร่วมมือกับโครงการ Art Manifesto ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ดำเนินการโดยถนอม ชาภักดี ผู้อำนวยการฝ่ายศิลป์แห่ง Khonkaen Manifesto ซึ่งเป็นเทศกาลศิลปะทางเลือกในจังหวัดขอนแก่นที่นำเสนอสุนทรียศาสตร์และคุณค่าแห่งการต่อต้านผ่านวิธีการทางศิลปะและวัฒนธรรมของชุมชนชายขอบ

โชคดี ร่มพฤกษ์ หรืออีกนามหนึ่งคืออาเล็ก โชคร่มพฤกษ์ เป็นนักร้องนักเคลื่อนไหว เขาเกิดเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2512 ในจังหวัดนครศรีธรรมราช อาเล็กได้รับอิทธิพลจากศิลปินปู พงษ์สิทธิ์ วงคาราบาว วงมาลีฮวนน่า และศิลปินอื่นๆ และได้รับอิทธิพลจากเพลงแนวเพื่อชีวิตที่นำเสนอผู้คนชายขอบ ชนชั้นแรงงาน และคนต่างจังหวัด อาเล็กสร้างสรรค์ผลงานดนตรีผ่านค่ายเพลงป๊อปอย่างอาร์สยาม ในขณะเดียวกันก็เล่นดนตรีในร้านอาหาร ผับ และสถานที่ต่างๆไปด้วย แม้ว่าเขาจะถูกปฏิเสธโดยค่ายใหญ่ๆในประเทศไทยเนื่องจากเนื้อหาทางการเมืองในผลานของเขา เขาก็ยังคงผลิตผลงานที่มีเนื้อหาทาการเมืองเพื่อที่จะชี้ให้เห็นความอยุติธรรมที่เกิดขึ้นในสังคมไทยอยู่เรื่อยๆ ผลงานเพลงเหล่านี้ได้รับแรงบันดาลใจจากเหตุการณ์ทางการเมืองภายใต้เผด็จการเช่น “ทำตามสันดาน” “มาด้วยปืน ไปด้วยปากกา” “อุ้มหาย ต้าร์ วันเฉลิม” “โขงสีดำกับ 8 รายนามที่จากไป” “วังซีน” และเพลงอื่นๆ

___

The Thai art scene has had some limitations with regards to representation and expression since the two coup d’etat, in 2006 and 2014. Since then, the Thai art community has been divided into two camps: pro-democracy and anti-democracy wings. As artist-activists and cultural workers, we explore the possibility of artistic activities that include groups of people calling for democracy and actively oppose dictatorial leadership. PAPP is associated with the project Art Manifesto in Northeast of Thailand organised by Thanom Chapakdee, artistic director of Khonkaen Manifesto. It is an alternative art festival in the city of Khonkaen, Northeast of Thailand, which carries the values and aesthetics of resistance through artistic and cultural approaches of a marginalised community. 

Chokdee Rompruek, also known as Ar-Lek Chokrompruek, is an Activist Singer born on August 1, 1969 in Nakhon Si Thammarat Province. He’s influenced by Pu Phongsit, Carabao band, Malijuana band, etc. and the type of song called “Phleng Pheua Chewit” (Song for Life) that represents the marginalised, working-class people, and people from the countryside. Ar-Lek produced music through pop record labels like R-Siam whilst also playing music in restaurants, pubs, and the like. Despite being rejected by several major labels in Thailand due to the political content of his work, Ar-Lek continues to produce political songs to highlight the injustices in Thai society through the years. These are mainly based on political events under the dictatorship such as Tum Tam San Dan (Trait-Dictatorship), Come with Gun Go-Out by Pen, Force Disappear – Tar Wanchalerm, the Black Mekong (Force Disappear 8 people), and Wang scene (Royal vac-scene), among others.

 

08 - 09 October

อาเล็ก โชคร่มพฤกษ์ จาก Plebeian Artistic Activist Project (PAPP)

แวดวงศิลปะในประเทศไทยถูกจำกัดเกี่ยวกับการนำเสนอและการแสดงออกตั้งแต่เหตุการณ์รัฐประหารในปี 2549 และ 2557 นับแต่นั้นมา สังคมศิลปะในไทยก็ถูกแบ่งเป็นสองกลุ่ม คือกลุ่มสนับสนุนประชาธิปไตยและกลุ่มต่อต้านประชาธิปไตย ในฐานะที่เป็นนักเคลื่อนไหวทางศิลปะและผู้ปฏิบัติงานทางวัฒนธรรม พวกเราจึงสำรวจความเป็นไปได้ของการจัดกิจกรรมทางศิลปะที่ดำเนินการโดยผู้ที่เรียกร้องประชาธิปไตยและต่อต้านผู้นำเผด็จการ โดย PAPP ร่วมมือกับโครงการ Art Manifesto ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ดำเนินการโดยถนอม ชาภักดี ผู้อำนวยการฝ่ายศิลป์แห่ง Khonkaen Manifesto ซึ่งเป็นเทศกาลศิลปะทางเลือกในจังหวัดขอนแก่นที่นำเสนอสุนทรียศาสตร์และคุณค่าแห่งการต่อต้านผ่านวิธีการทางศิลปะและวัฒนธรรมของชุมชนชายขอบ

บทเพลงสามัญชนแห่งการต่อต้าน (Plebeian Song of Resistance)
นักร้องหมาป่าเดียวดายบนท้องถนนกรุงเทพ (Lone Wolf Singer on Street of Bangkok)
อาเล็ก โชคร่มพฤกษ์
อาเล็กใช้เพลงของเขาในการแสดงความรู้สึกหดหู่ที่มีต่อรัฐ เขาได้ทำการประท้วงด้วยเพลงของเขามามากกว่าสิบปีแล้ว เพลงของเขาส่วนใหญ่เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับความทุกข์ของคนจน ชาวนา คนไร้บ้าน และผู้คนที่ไร้ปากเสียง ในปี 2563-2564 อาเล็กเป็นหนึ่งในนักร้อง “หมาป่าเดียวดาย” ที่ร่วมสนับสนุนการเคลื่อนไหวของเยาวชน แม้ว่าจะเกิดโรคระบาดโควิด-19 เขาก็ยังต่อสู้ในวิญญาณแห่งสามัญชนต่อไปอย่างไม่ท้อถอย ผลงานวิดีโอสำหรับ Where I’m Coming From นี้สร้างจากเรื่องจริงของกลุ่มผู้ประท้วงระหว่างวันที่ 25 กรกฎาคม – 15 สิงหาคม 2564

———

Ar-Lek Chokerompluek from Plebeian Artistic Activist Project (PAPP)

The Thai art scene has had some limitations with regards to representation and expression since the two coup d’etat, in 2006 and 2014. Since then, the Thai art community has been divided into two camps: pro-democracy and anti-democracy wings. As artist-activists and cultural workers, we explore the possibility of artistic activities that include groups of people calling for democracy and actively oppose dictatorial leadership. PAPP is associated with the project Art Manifesto in Northeast of Thailand organised by Thanom Chapakdee, artistic director of Khonkaen Manifesto. It is an alternative art festival in the city of Khonkaen, Northeast of Thailand, which carries the values and aesthetics of resistance through artistic and cultural approaches of a marginalised community.

Plebeian Song of Resistance
Lone Wolf Singer on Street of Bangkok
Ar-Lek Chokrompruek

Ar-Lek Chokerompluek uses his song to express his feelings and emotions of depression from the state. He’s been protesting using his music for more than a decade. His songs mostly are narrative about the suffering of the poor, farmers, homeless and unspeakable people. During 2020-2021, Ar-Lek is one of the lone-wolf singers joining and supporting the youth movement. In spite of the COVID-19 threat, he keeps and never lets his plebeian spirit down. This video for WICF is based on the true stories of protesters between 25 July and 15 August 2021.

Sunday 10 October

สะรุจ ศุภสุทธิเวช
เกิด พ.ศ. 2543 กรุงเทพฯ
อาศัยและทำงานอยู่ที่ กรุงเทพฯ

สะรุจ ศุภสุทธิเวช สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาศิลปะสื่อผสม จากคณะจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เมื่อปี พ.ศ. 2558 เขาให้ความสนใจกับประวัติศาสตร์บอกเล่า (oral history) และเรื่องเล่าส่วนตัวเกี่ยวกับสถานที่ต่างๆ ที่ไม่เคยมีการบันทึกมาก่อน เขามักจะเปลี่ยนสสารที่เหลืออยู่ในสถานที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ให้เป็นภาพเคลื่อนไหว รูปทรงร่างกาย และเสียงในผลงานศิลปะจัดวางของเขา

สะรุจ ได้เข้าร่วมแสดงผลงานในนิทรรศการกลุ่มล่าสุด ได้แก่ Watch and Chill: Streaming Art to Your Homes, MMCA, M+, MAIIAM, MCAD(2021), ᘐ (Qi) ที่ Nova Contemporary กรุงเทพฯ (พ.ศ. 2564), Footnotes on Institution ที่ Gallery VER กรุงเทพฯ (พ.ศ. 2562), ThaiTai Re-conversation: Based on True Story, About Photography กรุงเทพฯ (พ.ศ. 2561), BACC Early Years Project # 2 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (พ.ศ. 2560) และ พิพิธภัณฑ์เฉพาะกาล (กรณีศึกษาชุมชนหนองโพ) ราชบุรี (พ.ศ. 2557) สะรุจเข้าร่วมเป็นสมาชิกของบ้านนอก ความร่วมมือทางศิลปวัฒนธรรมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559

___

Saroot Supasuthivech
b. 1991, Bangkok
lives and works in Bangkok

Saroot Supasuthivech graduated with a Bachelor’s degree in mix-media arts from the Faculty of Painting, Sculpture and Graphic Arts, Silpakorn University, Bangkok, in 2015. His interests lie in oral histories and personal narratives of different places that have never been recorded before. He often transforms the remaining substances found in geographical locations into moving images, figures, and sounds in his installations.

Saroot has participated in a number of group exhibitions, most recently including Watch and Chill: Streaming Art to Your Homes, MMCA, M+, MAIIAM, MCAD(2021); ᘐ (Qi), Nova Contemporary, Bangkok (2020); Footnotes on Institution. Gallery VER, Bangkok (2019); ThaiTai Re-conversation: Based on True Story, About Photography, Bangkok (2018); BACC Early Years Project #2, Bangkok Art and Culture Centre, Bangkok (2017); and Pop Up Museum (Model Study for Nongpho Community), Ratchaburi (2014). He has been a member of Baan Noorg Collaborative Arts and Culture since 2016.

10 October

การประกอบอาหาร: Baan Noorg 

ผีทั้งหลายประทับทรงแล้ว กำลังฟ้อนอยู่ในปะรำพิธี
“ผีทั้งหลายประทับทรงแล้ว กำลังฟ้อนอยู่ในปะรำพิธี”
วิดีโอสีความคมชัดสูง เสียง 2 แชนเนล
กว้าง : 1920 พิกเซล
ยาว : 1080 พิกเซล
เสียง : 2 ช่อง (สเตอริโอ)
ความยาว : 06:30 นาที
ประวัติความเป็นมาของอาหารในความเชื่อของชาวไทยวน:
ความเชื่อเรื่อง “ผีสาง” อยู่กับคนไทยรวมไปถึงกลุ่มชาติพันธุ์ตั้งแต่ระดับครอบครัวจนถึงระดับสังคมมาเนิ่นนาน ความเชื่อนี้มีบทบาทสำคัญในการส่งผลกระทบและรักษาตำแหน่งในสังคม ชื่อที่ชาวพื้นเมืองหรือกลุ่มชาติพันธุ์ในภาคเหนือของประเทศไทยนั้นใช้เรียกผีสางสามารถแบ่งออกได้ตาม “การกระทำ” “การปรากฎตัว” “เพศ” “พฤติกรรม” “สถานที่สิงสู่” “สาเหตุของการตาย” “สิ่งที่มนุษย์กระทำให้” และ “การเซ่นไหว้อาหาร”
“ไทยวน” เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ย่อยหนึ่งในกลุ่มชาติพันธุ์ “ไท” ที่พูดภาษาไท-กะได หรือที่รู้จักกันในนามล้านนา-ไทย ลาว ไทยยวน หรือโยนก ไทยวนนั้นดั้งเดิมมาจากตอนใต้ของประเทศจีน ที่ที่พวกเขาอาศัยมาตั้งแต่สมัยโบราณ ในทุกวันนี้กลุ่มชาติพันธุ์ไทยวนตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ภาคเหนือของประเทศไทย ในจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน น่าน และแพร่ และพวกเขายังตั้งถิ่นฐานอยู่ในจังหวัดราชบุรี สระบุรี นครปฐม และกรุงเทพอีกด้วย ทุกๆปีในช่วงเวลาปีใหม่ไทยหรือเทศกาลสงกรานต์ ชาวไทยวนจะประกอบ “พิธีเซ่นไหว้วิญญาณบรรพบุรุษ” โดยการประกอบอาหารประจำท้องถิ่นและถวาย “เครื่องเซ่น” ให้กับบรรพบุรุษของพวกเขา สำหรับพวกเขาแล้วเหล่าบรรพบุรษจะเป็นที่พึ่งทางใจและช่วยปกป้องคุ้มครองพวกเขาจากภยันตรายต่างๆ
การสร้างสรรค์ผลงานวิดีโอ “ผีทั้งหลายประทับทรงแล้ว กำลังฟ้อนอยู่ในปะรำพิธี” แสดงให้เห็นภาพศาลตายาย การเต้นรำแก้บน และการประกอบอาหารเซ่นไหว้ ประกอบกับเสียงบรรยายเกี่ยวกับความเป็นมาของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยวนและกระบวนการการประกอบอาหารเซ่นไหว้
กระบวนการการประกอบอาหารเซ่นไหว้
“เครื่องเซ่นบูชา” – ประกอบไปด้วยเมนูที่ถูกบริโภคในชีวิตประจำวันที่บ้านหรือในพื้นที่ท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นลาบหมู ผัดหมี่ไทยวน น้ำพริกหนุ่ม และขนมหวาน ในบางครั้งหัวหมูหรือไก่ต้มก็ถูกนำมาเซ่นไหว้ ขึ้นอยู่กับความต้องการและฐานะของเจ้าภาพ
“การบูชา” – เมื่อถึงเวลาฤกษ์ ผู้ใหญ่ในครอบครัวจะพนมมือสวด “บูชา” กับครอบครัว จากนั้นพวกเขาจะถอยออกมา และรอจนกว่าธูปเทียนจะดับลง ซึ่งนั่นหมายความว่าวิญญาณบรรพบุรษได้รับเครื่องเซ่นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จากนั้นครอบครัวจะนำอาหารมารับประทานกันในหมู่ญาติมิตร
ขนมกง หรือ ขนมกงเกวียน เป็นขนมโบราณชนิดหนึ่งที่มีประวัติความเป็นมาช้านานตั้งแต่สมัยอาณาจักรอยุธยา มีส่วนประกอบหลักเช่นถั่วเขียวซีก น้ำตาลปี๊บ น้ำตาลอ้อย และกะทิ มีลักษณะกลมและมีเส้นตีผ่านตรงกลางคล้ายล้อเกวียน โดยขนมกงนี้มักจะถูกใช้ในพิธีมงคล
วิธีทำขนมกง
ส่วนผสม: ถั่วเขียวซีก น้ำตาลทราย น้ำตาลปี๊บ กะทิ งาขาวคั่ว แป้งสาลีอเนกประสงค์ น้ำมันพืช เกลือป่น น้ำเปล่า ไข่แดง

 ———

Cooking Session: Saroot  Supasuthivech from Baan Noorg Collaborative arts & culture

The Surrogation of the Spirits Dancing on the Ceremonial Ground
HD digital video color, audio 2 channel
Duration : 06:30 min

History of the Food: 

The belief about ‘Ghost” has been with Thai people including the ethnic groups for a  long time from the family up to societal structure scale. This belief has been playing an  important role by influencing and keeping order for the society. The ways the local or the  ethnic groups from northern Thailand call the spirits can be categorized according to their  “action”, “apparition”, “gender”, “behaviour”, “habitation”, “cause of death”, “what  men offer to them” and “food offerings”. “Thai Yuan” is one of the “Tai” ethnic groups who speaks Tai – Kadai language also  known as Lanna-Thai, Laotian, Thai Yuan or Yonok. This group was originally from the South  of China where they dwelled since ancient times. Nowadays, Thai Yuan people have settled  and are living in Northern Thailand in Chiang Mai, Chiang Rai, Lampun, Nan and Phrae. They  also settled in other provinces like Ratchaburi, Saraburi, Nakorn Pathom, and Bangkok.  Every year, during the Thai New Year or Songkran festival, Thai Yuan people perform  “Grandfather-Grandma’s or Ancestor’s Spirits Offering Ceremony”. They cook their local  specialties and set up the “Offerings” for their ancestor’s spirits which, for them, are  regarded as the protection and sentimental refuge. 

The video creation of “ The Surrogation of the Spirits Dancing on the Ceremonial Ground”  portrays the images of grandfather/grandmother shrine, votive offering dance, and the  cooking of food for offering with the narration about the history of the ethnic group and  their offerings making process. 

The Offerings Making Process 

“The Offerings” – They are mostly composed of the regular food that the people usually eat  in daily life in the household or in their locality whether it be “Larb Moo” or Spicy Pork  Salad, “Thai Yuan noodle”, “Northern Thai Green Chili Dip” and dessert. Sometimes, “Pork  Head” or “ Steamed Chicken” are brought as part of the ceremony depending on the  requirements and the financial status of the host. 

“The Puja” or “The Ceremony” – At the auspicious moment, the senior of the family will  perform “Puja” reciting prayers with the family who have their hands in prayer  position. They then step out and wait until the candles and incense sticks are fully burnt  and extinguished. 

This means the ancestral spirits have already well received the offerings. The family then  removes the food from the ceremony to share and enjoy amongst them.

Kanom Kong or Khanom Kong Kwian is a type of ancient dessert that has a long history since  the Ayutthaya period. There are main ingredients such as mung bean halves, palm sugar,  sugar, and coconut milk. They are circle-shaped with crossed lines across the middle like a  wagon wheel. Khanom Kong is often used in auspicious ceremonies.